ทฤษฎีคืออะไร

ทฤษฎีคืออะไร    (ทิศนา แขมมณี 2554 : 40-42)
ทฤษฎีเกิดขึ้นได้เพราะคนเรามีความสนใจในปรากฏการณ์ต่างๆ รอบตัวและขณะที่สังเกตปรากฏการณ์ต่างๆ เหล่านั้น ก็เกิดความคิดเบื้องต้น (assumption) เกี่ยวกับปรากฏการณ์นั้นขึ้น ความคิดเบื้องต้น เกิดขึ้นจากการใช้ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ประกอบกับความคิดอุปนัย (induction) และความคิดนิรนัย (deduction) ของคนขณะที่สังเกตปรากฏการณ์เหล่านั้น
                อย่างไรก็ตาม เมื่อคนเกิดความคิดเบื้องต้นขึ้นมาแล้ว ความคิดนั้นอาจจะได้รับการยอมรับหรือไม่ได้รับการยอมรับก็ได้ ถ้ามีหลักฐานหรือสามารถพิสูจน์ทดสอบให้เห็นจริงได้ ดังนั้น เมื่อเกิดความคิดเบื้องต้นขึ้นมาแล้ว ผู้คิดค้นจึงจำเป็นต้องไปแสวงหาหลักฐานที่จะสามารถนำมาใช้เป็นเครื่องยืนยันความคิดนั้น ความคิดต่างๆ ที่มีหลักฐานยืนยันพอสมควรและสามารถนำไปพิสูจน์ทดสอบได้นี้เรียกกันว่าเป็นสมมติฐาน (hypothesis)
                เมื่อทำการทดสอบสมมติฐานจนเป็นที่พอใจแล้ว ผู้คิดค้นก็จะนำความคิดเบื้องต้นมาจัดทำหรือเขียนเป็นทฤษฎีขึ้น
                ทฤษฎีที่ตั้งขึ้นนี้ จะถือว่าเป็นทฤษฎีได้จะต้องมีคุณสมบัติอย่างน้อย ประการคือ
1.             จะต้องสามารถอธิบายความจริงหลักของปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นได้
2.             จะต้องสามารถนิรนัยความจริงหลักนั้นออกมาเป็นกฎหรือความจริงอื่นๆ ได้
3.             จะต้องสามารถทำนายปรากฏการณ์นั้นได้
ประมวลทฤษฎีการเรียนรู้ที่เป็นสากลและการประยุกต์สู่การสอน
แนวความคิดในเรื่องของการเรียนรู้ของมนุษย์ได้รับความสนใจอย่างมากจากนักปรัชญาและนักจิตวิทยามาแต่ในอดีต ซึ่งต่างก็ได้แสดงทัศนะกันไว้อย่างหลากหลายและได้ขยายขอบเขตไปสู่เรื่องของการจัดการศึกษาและการสอน การศึกษาแนวคิดในอดีต นอกจากจะเป็นพื้นฐานที่สำคัญที่จะช่วยให้เกิดความเข้าใจในเรื่องของการจัดการศึกษาและเกิดแนวความคิดใหม่ๆ แล้วยังเป็นการทบทวนภูมิปัญญาของนักคิดในอดีตซึ่งอาจจะตกหล่นสูญหายหรือเสื่อมความนิยมไปด้วยกาลและสมัย แต่อาจยังทรงคุณค่ามหาศาลต่อการเรียนรู้ของมนุษย์
การประมวลข้อมูลได้ผ่านกระบวนการที่สำคัญๆ ขั้นตอน ดังนี้
1.             การศึกษาค้นคว้าในรายละเอียด
2.             การวิเคราะห์เพื่อแยกแยะประเด็นและสาระเพื่อให้เกิดความเข้าใจในแต่ละเรื่อง
3.             การกลั่นกรองเพื่อให้ได้แก่น หรือสาระสำคัญของเรื่อง
4.             การอภิปรายเพื่อประยุกต์หลักทฤษฎีการเรียนรู้สู่หลักการสอน
5.             การปรับและเพิ่มเติมตามความเหมาะสม
6.             การเรียบเรียงให้ง่ายต่อการอานและการเข้าใจ
แนวคิดเกี่ยวกับธรรมชาติและพฤติกรรมของมนุษย์
แนวคิดเกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์
                ทฤษฎีการเรียนรู้ เริ่มต้นจากแนวคิดของการมองธรรมชาติของมนุษย์ใน ลักษณะ คือด้านจริยธรรมและพฤติกรรมหรือการกระทำ
แนวคิดที่ 1 เชื่อว่ามนุษย์เกิดมาพร้อมความไม่ดี (innately bad)
แนวคิดที่ 2 เชื่อว่ามนุษย์เกิดมาพร้อมกับความดี (innately good)
แนวคิดที่ 3 เชื่อว่ามนุษย์เกิดมาพร้อมกับลักษณะที่เป็นกลาง ไม่ดี ไม่เลว(innately neutral, neither good nor bad)
แนวคิดเกี่ยวกับพฤติกรรมหรือการกระทำของมนุษย์
                นักคิดมีความเชื่อแตกต่างกันเป็น แนว เช่นเดียวกันดังนี้
แนวคิดที่ 1 เชื่อว่าพฤติกรรมของมนุษย์เกิดจากแรงกระตุ้นภายในตัวเอง (active)
แนวคิดที่ 2 เชื่อว่าพฤติกรรมของมนุษย์เกิดจาก อิทธิพลของสิ่งแวดล้อม (passive reactive)
แนวคิดที่ 3 เชื่อว่าพฤติกรรมของมนุษย์ เกิดจากสิ่งแวดล้อมและจากแรงกระตุ้นในตัวบุคคล(interactive)
แนวคิดด้านจริยธรรมและพฤติกรรม เป็นพื้นฐานที่สำคัญของทฤษฎีและหลักการเรียนรู้ต่าง ๆ
สามารถแบ่งได้เป็น 2 ด้าน คือ
1.             ทฤษฎีเกี่ยวกับการเรียนรู้และหลักการสอนในช่วงก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 20 ได้แก่ ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มจิตนิยม หรือกลุ่มที่เน้นการฝึกจิตหรือสมอง (Mental Discipline)
2.             ทฤษฎีเกี่ยวกับการเรียนรู้และหลักการสอนในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20 ได้แก่ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behaviorism) กลุ่มพุทธินิยมหรือความรู้ความเข้าใจ (Cognitivism) กลุ่มมนุษย์นิยม (Humanism) และกลุ่มผสมผสาน (Eclecticsm

อ้างอิง
ทิศนา แขมมณี.2554.ศาสตร์การสอน:องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ.กรุงเทพ:สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย